ITOY STUDIO เพราะของเล่นมีเรื่องราว

ITOY STUDIO เพราะของเล่นมีเรื่องราว http://itoystudio22.blogspot.com/
ขายของเล่น,ของสะสม มือ 1 และ มือ 2 ขาย ของเล่น ของขวัญ ของใช้ตกแต่งบ้านสไตล์

20/04/2025
https://www.facebook.com/photo/?fbid=122129165630594466&set=a.122093936558594466
23/02/2025

https://www.facebook.com/photo/?fbid=122129165630594466&set=a.122093936558594466

จุดเริ่มต้นของมังงะ "Guyver อมนุษย์เกราะชีวะ" เกิดจากคำเชื้อเชิญของบรรณาธิการนิตยสาร Shonen Captain ที่ต้องการให้ “โยชิกิ ทาคายะ“ วาดเรื่องราวเกี่ยวกับฮีโร่สักเรื่อง เดิมทีทาคายะตั้งใจจะให้เป็นเพียงเรื่องสั้นจบในตอน ทว่าผลตอบรับกลับดีเกินคาดจนเขียนต่อเนื่องมายาวนาน

แนวคิดหลักของ Guyver มาจากการผสมผสานระหว่างสองไอเดีย คือ "ฮีโร่โลหะ" และ "ชุดเกราะทรงอานุภาพที่เปลี่ยนรูปร่างตามผู้สวมใส่ได้ทันที" ทาคายะต้องการให้ตัวละครมีความโดดเด่น แปลกประหลาด และน่าสะพรึงกลัว มากกว่าฮีโร่ทั่วไป เขาจึงได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง "Syngenor" ในการออกแบบให้เป็นชุดเกราะที่มีอุปกรณ์ควบคุมโดยสิ่งมีชีวิตที่หลอมรวมกับผู้สวมใส่

ในช่วงเริ่มตีพิมพ์ Guyver มีความคล้ายคลึงกับ "Baoh: The Visitor" ผลงานของ ฮิโรฮิโกะ อารากิ ซึ่งจบลงก่อนหน้า Guyver เพียงหนึ่งสัปดาห์ สร้างความกังวลให้กับทาคายะว่าจะถูกมองว่าลอกเลียนแบบ เขาจึงหลีกเลี่ยงที่จะอ่าน Baoh ในช่วงนั้น โชคดีที่เนื้อหาและบรรยากาศของทั้งสองเรื่องมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน

ทาคายะเคยเปิดเผยว่า หาก Guyver จบลงตั้งแต่ช่วงแรกๆ เขาตั้งใจจะหันไปเขียนการ์ตูนแนว "เฮ็นไตโรแมนติกคอมเมดี้" แทน อย่างไรก็ตาม ด้วยปัญหาสุขภาพเรื้อรังและการทำงานโดยไม่มีผู้ช่วย ทำให้การตีพิมพ์ Guyver เป็นไปอย่างไม่สม่ำเสมอ และหยุดชะงักไปตั้งแต่ปี 2016 โดยไม่มีกำหนดกลับมา

ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เป็นวันคล้ายวันเกิดของ โยชิกิ ทาคายะ ซึ่งปัจจุบันมีอายุครบ 65 ปี แฟนๆ ทั่วโลกยังคงรอคอยบทสรุปของมหากาพย์เกราะชีวะนี้อย่างมีความหวัง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของมังงะ นิยาย หรือการส่งต่อให้ผู้อื่นสานต่อเรื่องราวก็ตาม และเหนือสิ่งอื่นใด ขอให้อาจารย์รักษาสุขภาพให้แข็งแรง
#กายเวอร์

16/02/2025
16/02/2025
22/12/2024

หลังจากประสบความสำเร็จอย่างมากจากมังงะนักเลง “จอมเกบลูส์” มาซาโนริ โมริตะ ผู้เขียน ก็ไม่เคยข้องแวะกับสไตล์แบบนี้อีกเลย จึงมีคำถามบ่อยครั้งจากแฟนๆ ว่า อาจารย์จะกลับมาวาดมังงะแนวนี้อีกไหม?

🗣️สิ่งที่ผมอยากจะวาดที่สุดใน "จอมเกบลูส์" ก็คงจะเป็นความสำคัญของมิตรภาพและความฝันล่ะมั้ง? แต่เอาจริงๆ ตอนนั้นผมคิดแค่ว่า "อยากวาดให้เท่ อยากวาดให้น่าสนใจ" แค่นั้นแหละครับ

ในความเป็นจริง ผมว่าแทบจะไม่มีคนที่ถูกเรียกว่า "แยงกี้ หรือ นักเลง" แล้วล่ะ แต่กลับกัน มีพวกนักเลงครึ่งๆ กลางๆ หรือพวกที่ดีแต่ทำเรื่องแย่ๆ แบบจริงจังเพิ่มขึ้น พวกนี้ถ้าจะเอามาวาดเป็นตัวเอกในการ์ตูนก็คงไม่ใช่ว่าทำไม่ได้หรอก แต่ผมมองไม่เห็นความถูกต้องอะไรในตัวพวกเขาเลย แล้วแบบนั้นผมก็คงหาความสนุกแบบที่ควรจะมีในการ์ตูนโชเน็นไม่ได้ ผมคงจะไม่วาดการ์ตูนนักเลงอีกแล้วล่ะ แต่ผมก็อยากให้มีการ์ตูนสนุกๆ ที่มีนักเลงผู้ผดุงความยุติธรรมโลดแล่นอยู่เหมือนกันนะ

พอมองย้อนกลับไป ก็ได้แต่คิดว่า "ตอนนั้นเราวาดงานละเอียดขนาดนี้ทุกสัปดาห์ได้ยังไงนะ" ภาพวาดก็แค่ใส่ลายเส้นเยอะๆ ให้ดูเหมือนวาดเก่ง โดยเฉพาะก่อนเล่ม 25 นั้น บอกตรงๆ ว่าห่วยแตกมาก น่าอายจริงๆ

โทงาชิ (คนเก่ง) อิโนอุเอะ (สแลมดังก์) และอุเมซาวะ (BØY) อายุเท่ากันกับผม เลยมองพวกเขาเป็นคู่แข่ง จนถึงตอนนี้ ถ้า 3 คนนั้นวาดผลงานดีๆ ออกมา ผมก็ยังรู้สึกอยากจะสู้ อยากจะวาดให้ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมอยากให้อิโนอุเอะซังวาดการ์ตูนเรื่องใหม่จังเลยนะ จะได้เป็นแรงกระตุ้นให้ผมด้วยครับ (หัวเราะ)

คงต้องสลายมโนกันละครับ จากนี้คงได้แต่คาดหวังแนวอื่นๆ ของอาจารย์กันต่อไป ไม่ก็ขอร้องให้อาจารย์อิโนะอุเอะวาดเรื่องใหม่ เผื่อจะมีลุ้น แต่น่าจะเป็นช้อยส์ที่ยากที่สุดเลย 55555
#จอมเกบลูส์

21/12/2024

"ผมติดค้างแฟนๆ ผู้อ่าน" ความรู้สึกที่อาจารย์อิโนะอุเอะ แบกไว้กว่า 20 ปี

ย้อนกลับไป 28 ปีก่อน Slam Dunk จบลงในนิตยสาร Weekly Shonen Jump พร้อมข้อความ "ภาค 1 จบบริบูรณ์" ทิ้งท้ายให้ผู้อ่านตั้งตารอภาคต่อ แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง อาจารย์อิโนะอุเอะกลับเปลี่ยนใจ ข้อความดังกล่าวถูกลบออกไปจากฉบับรวมเล่ม ปิดฉากตำนาน Slam Dunk อย่างเป็นทางการ

มีข่าวลือที่ว่าอาจารย์ทะเลาะกับ บ.ก. โทริชิมะ แต่ก็เป็นตัวเขาเองที่ออกมาสยบข่าวลือว่าไม่ใช่แต่อย่างใด เขาต้องการให้เรื่องจบแบบนี้ เพราะคงไม่สามารถเขียนแมตช์ที่ดีไปกว่าการแข่งขันกับเทคโนซังโนได้อีกแล้ว

ถึงแม้ Slam Dunk จะจบลงลงอย่างสมบูรณ์แบบ ตามที่ อ.อิโนะอุเอะต้องการ แต่คำว่า "จบภาค 1" ยังคงเป็นเสี้ยนหนามในใจ เขายอมรับว่าการวาดการ์ตูนรายสัปดาห์มันสาหัสมาก จดหมายจากแฟนๆ คือพลังใจสำคัญที่ช่วยประคับประคองให้เขามาถึงจุดนี้ได้

เขาเคยคิดว่าการวาดผลงานใหม่ๆ ออกมา เช่น Vagabond และ Real จะช่วยทำให้ชดเชยความรู้สึกนี้ได้ แต่ก็ไม่เป็นผล แฟนๆ จำนวนมากยังคงตั้งตารอ Slam Dunk ภาคต่อ

อาจารย์อิโนะอุเอะ ไม่รู้ว่าจะสานต่อ Slam Dunk อย่างไร ความรู้สึกผิดเหมือนได้ทำร้ายจิตใจผู้อ่าน มันกัดกินใจเขามาตลอด กระทั่งยอดขาย Slam Dunk ทะลุ 100 ล้านเล่ม เขาตัดสินใจซื้อพื้นที่หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ 6 ฉบับ เพื่อลงภาพวาดและข้อความขอบคุณแฟนๆ นอกจากนี้ เขายังวาด Slam Dunk: 10 Days After เรื่องราว 10 วันหลังจากแมตช์กับเทคโนซังโน บนกระดานดำของโรงเรียนร้างในจังหวัดคานางาวะ เพื่อเป็นของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ให้แฟนๆ ได้หายคิดถึง

กิจกรรมเหล่านี้ ทำให้อาจารย์อิโนะอุเอะสัมผัสได้ถึงความสำคัญของผลงานชิ้นนี้ที่อยู่ในใจของแฟนๆ แต่นั่นยิ่งทำให้เขารู้สึกกดดันและรู้สึกผิดมากขึ้น จนบางครั้งก็ส่งผลต่อสภาพจิตใจและทำให้เขาทำงานไม่ได้ เขาพยายามสานต่อ Slam Dunk ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่การ์ตูน แต่ก็ไม่สามารถลบ "ความรู้สึกติดค้าง" นี้ไปได้
..จนกระทั่ง The First Slam Dunk ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และนี่อาจช่วยปลดล็อก "ความรู้สึกติดค้าง" ในใจอาจารย์อิโนะอุเอะที่แบกไว้กว่า 20 ปีเสียที

ขอบคุณที่เขียนสแลมดังก์ครับอาจารย์ รักมาก ♥️
#สแลมดังก์

ที่อยู่

Bangkok

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ITOY STUDIO เพราะของเล่นมีเรื่องราวผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์